Phruksa Spa

Aroma Fragrance

0

Your Cart

เคล็ด (ไม่) ลับมัดรวม วิธีใช้น้ำหอมปรับอากาศ แต่ละประเภท

เคล็ด (ไม่ลับ) มัดรวม วิธีใช้น้ำหอมปรับอากาศ แต่ละประเภท

เคยรู้สึกไหมคะ เวลาที่ไปบ้านเพื่อนหรือคนรู้จักคนอื่น ทำไมถึงรู้สึกว่าบ้านคนอื่นถึงมีกลิ่นหอมมากว่าบ้านของเรานะ พอมองไปรอบๆ บ้าน จะมีตั้งวางเครื่องหอมต่างๆ ไว้ตามมุมห้อง หรือกลางห้อง บางทีก็มีความสงสัยว่าสิ่งเหล่านั้นช่วยสร้างกลิ่นหอมในบ้านได้ขนาดนั้นเลยหรอ

การเลือกใช้เครื่องหอมต่างๆ ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศในห้องให้ดีขึ้น แม้จะเป็นสถานที่เดิมๆ แต่ก็ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้อย่างบอกไม่ถูก ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ก้านไม้หอมปรับอากาศ เครื่องพ่นอโรม่า หรือสเปรย์ เข้ามาช่วยปรับอากาศในห้องให้หอม สบาย ชวนผ่อนคลายทุกครั้งได้สูดดม

บทความนี้แอดมินได้รวบรวมเคล็ด (ไม่ลับ) วิธีใช้น้ำหอมปรับอากาศแต่ละประเภท มาให้เพื่อนๆ ได้ความรู้จักและเลือกใช้ตามความเหมาะสมตามการใช้งาน และยังหอมนานยิ่งขึ้นอีกด้วยค่ะ

#1 ก้านไม้หอมปรับอากาศ หรือดอกไม้หอมปรับอากาศ (Fragrance Diffuser)

น้ำหอมปรับอากาศแบบดิฟฟิวเซอร์ ใช้การปักก้านไม้หวาย หรือดอกไม้ดูดน้ำหอมในการกระจายกลิ่น ให้กลิ่นที่หอมแบบสม่ำเสมอ คงที่ และยาวนาน นิยมตั้งวางไว้ในห้องนอน ห้องรับแขก ห้องประชุม ห้องทำงาน หรือห้องน้ำ เป็นต้น

นอกจากจะให้กลิ่นหอม และใช้งานง่ายแล้ว ยังมาในรูปแบบแพคเกจจิ้งขวดแก้วทรงหรูหรา สวยงาม สามารถใช้ตกแต่งบ้านได้ หรือนิยมซื้อเป็นของฝากได้อีกด้วย

วิธีใช้ :

1.เปิดฝาขวด ดึงจุกยางพลาสติก (ถ้ามี) ออกให้เรียบร้อย

2. ปักก้านไม้หวาย หรือ หย่อนเชือกสำหรับดอกไม้ดูดน้ำหอม ลงในขวดแก้ว

3.รอให้ก้านไม้หวาย หรือดอกไม้ดูดน้ำหอมดูดน้ำหอมดิฟฟิวเซอร์ ประมาณ 30 นาที กลิ่นจะเริ่มระเหยกระจายออกมา

4. ตั้งวางไว้ตามมุมห้องต่างๆ ที่ต้องการ หากห้องมีขนาดใหญ่ ควรตั้งวางไว้หลายๆ ขวดตสมุมห้อง เพื่อช่วยกระจายกลิ่นได้ทั่วถึงทั้งห้อง

คำแนะนำ :

  • หากกลิ่นเริ่มจาง หรือเบาลง ให้ทำการพลิกด้านไม้หวายอีกด้าน หรือทำทุกสัปดาห์
  • จำนวนก้านไม้หวายมีผลต่อการระเหยและกระจายกลิ่น ยิ่งจำนวนจะยิ่งหอมฟุ้ง แต่น้ำหอมก็หมดเร็วเช่นกัน
  • หากพลิกกลับด้านก้านไม้หวายหลายครั้งจนไม้เปียกชุ่มไป 2 ด้านและกลิ่นยังจางอยู่ แนะนำเปลี่ยนก้านชุดใหม่
  • อายุการใช้งานยาวนานต่อเนื่อง ในอุณหภูมิปกติ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของพื้นที่นั้นๆ
  • น้ำหอมดิฟฟิวเซอร์หากยังไม่เปิดใช้ สามารถเก็บไว้ได้ยาวนาน 2 ปี แต่หากเปิดฝาแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 6 เดือน
  • ใช้ได้ดีในพื้นที่ปิด ที่ไม่มีลมพัดตลอดเวลา เนื่องจากจะทำให้กลิ่นถูกพัดไปตามลมนั่นเอง
  • กลไลธรรมชาติ เมื่อจมูกได้กลิ่นเดิมๆ ซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลาสักพักนึง จะเกิดภาวะชินกลิ่น จะได้กลิ่นนั้นๆ เบาลง หรือจางลง วิธีแก้ไขอาจเปลี่ยนกลิ่นใหม่ เพื่อรีเฟรชการรับรู้กลิ่นที่ดีขึ้น

ข้อควรระวัง :

  • เก็บในที่ร่ม ห่างจากแสงแดด ความร้อน ประกายไฟ หรือความชื้น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา หรือผิวหนัง รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด หากระคายเคืองให้รับปรึกษาแพทย์ทันที
  • เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง

#2 น้ำมันหอมระเหย เอสเซนเชียลออยล์ (Essential Oil)

น้ำมันหอมระเหย เอสเซนเชียลออยล์ เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากของเหล่าผู้รักสุขภาพ เนื่องจากส่วนผสมสกัดจากธรรมชาติ 100% ให้ความปลอดภัยและกลิ่นธรรมชาติ ชวนผ่อนคลายเหมือนอยู่ในสวนร่มรื่น หายใจปลอดโปร่ง หรือเหมือนอยู่ในสปาดีๆ เลยค่ะ

วิธีใช้ :

1.หยดน้ำมันหอมระเหย เอสเซนเชียลออยล์ ประมาณ 5-10 หยด (เพิ่ม-ลดจำนวนหยด ตามความต้องการ/ตามความแรงของกลิ่น) ลงในน้ำบนเตาพ่นไอน้ำหรือเตาอโรม่า

2.เสียบปลั้ก เปิดเครื่องสำหรับเตาพ่นไอน้ำ หรือจุดเทียนสำหรับเตาอโรม่าแบบเตาต้ม

คำแนะนำ :

  • น้ำมันหอมระเหย เอสเซนเชียลออยล์มีหลายเกรด ตามการใช้งาน ควรปรึกษาผู้ขาย/ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้งาน

ข้อควรระวัง :

  • เก็บในที่ร่ม ห่างจากแสงแดด ความร้อน ประกายไฟ  หรือความชื้น
  • เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา หรือผิวหนัง รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด หากระคายเคืองให้รับปรึกษาแพทย์ทันที

#3 น้ำมันหอมระเหย อโรม่าออยล์ (Aroma Oil)

โรงแรมหรือสปานิยมเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยอโรม่าออยล์ ใช่ร่วมกับเตาต้มหรือเตาอโรม่า เพื่อกระจายกลิ่นหอมอโรม่า ส่งกลิ่นหอมแบบทันที ขจัดกลิ่นไม่พึงปรสงค์อย่างรวดเร็ว ปรับอากาศในห้องนั้นให้หอมในพริบตา และราคาที่ไม่สูงเท่ากับเอสเซนเชียลออยล์

วิธีใช้ :

1.หยดน้ำมันหอมระเหย อโรม่าออยล์  ประมาณ 5-7 หยด (เพิ่ม-ลดจำนวนหยด ตามความต้องการ/ตามความแรงของกลิ่น) ลงในน้ำบนเตาต้มอโรม่า

2.จุดเทียนด้านล่างของเตาอโรม่า

คำแนะนำ :

  • ไม่ควรใช้กับผิวกายโดยตรง
  • ไม่ควรใช้กับเตาพ่นไอน้ำไฟฟ้าที่มีใส้ เนื่องจากอาจเกิดการอุดตันของเครื่องได้

ข้อควรระวัง :

  • เก็บในที่ร่ม ห่างจากแสงแดด ความร้อน ประกายไฟ  หรือความชื้น
  • เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา หรือผิวหนัง รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด หากระคายเคืองให้รับปรึกษาแพทย์ทันที

#4 สเปรย์ปรับอากาศ (Spray air refresher)

สเปรย์ปรับอากาศ เหมาะสำหรับใช้กำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ช่วยให้มีกลิ่นหอมขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว เช่น ในห้องกินข้าว ห้องครัวที่ทำอาหาร และต้องการกำจัดกลิ่นอาหาร ก็นิยมใช้สเปรย์ฉีดขึ้นไปในอากาศ เพื่อลดกลิ่นอาหารและปรับกลิ่นให้หอมขึ้น หรือว่าจะเป็นห้องเก็บของที่อาจจะมีกลิ่นอับเนื่องจากไม่ได้เปิดรับอากาศเป็นเวลานาน ก็นิยมฉีดเปรย์เพื่อปรับกลิ่นในอากาศให้ดีขึ้นก่อนที่จะเข้าไปหยิบของนั่นเองค่ะ

วิธีใช้ :

1.ฉีดพ่นสเปรย์ปรับอากาศ ในห้องที่ต้องการความหอม ละอองของเปรย์ลอยจะขึ้นไปในอากาศ และปรับอากาศได้ดีขึ้น

2.ฉีดพ่นสเปรย์ปรับอากาศ บนพื้นผิววัสดุ อย่างเช่น พรม โชฟา ผ้าม่าน ตู้เสื้อผ้า

คำแนะนำ :

  • สเปรย์ปรับอากาศ ใช้ได้ดีในห้องปิด ก่อนการใช้งานให้ปิดประตู หรือหน้าต่าง ปิดช่องระบายลมต่างๆ ก่อน
  • สเปรย์ปรับอากาศ ได้ผลไม่ดีนักในห้องที่มีความชื้นสูง

ข้อควรระวัง :

  • เก็บในที่ร่ม ห่างจากแสงแดด ความร้อน ประกายไฟ  หรือความชื้น
  • เก็บให้มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา หรือผิวหนัง รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด หากระคายเคืองให้รับปรึกษาแพทย์ทันที

#5 น้ำหอมปรับอากาศในรถยนต์ (Hanging Air Freshener)

กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ในรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นอับ กลิ่นของอาหารที่เพิ่งรับประทาน กลิ่นควันรถ กลิ่นบุหรี่ กลิ่นเหล่านี้สร้างความกวนใจให้ผู้ใช้รถไม่น้อยเลยค่ะ

วิธีใช้ :  

  • หมุนฝาขวด ดึงจุกยางพลาสติกออก
  • หมุนฝาขวดกลับเข้าไป จากนั้นคว่ำขวดให้น้ำหอมค่อยๆ ซึมออกทางฝาไม้ กลิ่นจะเริ่มระเหยออกมา
  • แขวนไว้ที่สถานที่เล็กต่างๆ เช่น ในรถยนต์ ตู้เสื้อผ้า ตู้รองเท้า หรือแขวนไว้ๆ ใกล้ตัวบริเวณเตียงนอน

คำแนะนำ :

  • หากกลิ่นเริ่มเบาลง แนะนำคว่ำขวดน้ำหอมลง 1-2 วินาที ให้น้ำหอมซึมออกมาเพิ่มขึ้นให้กลิ่นระเหยใหม่ สามารถทำได้จนน้ำหอมหมดขวด

ข้อควรระวัง :

  • ระวังน้ำหอมหกเลอะภายในรถยนต์ หากเลอะให้รีบใช้ผ้าชุบน้ำหรือทิชชู่เปียกเช็ดออกทันที
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา หรือผิวหนัง รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด หากระคายเคืองให้รับปรึกษาแพทย์ทันที

โดยสรุปแล้ว น้ำหอมปรับอากาศแต่ละประเภทมีรูปแบบวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป และส่วนผสมของน้ำหอมแต่ละแบบก็ไม่เหมือนกันด้วย จึงไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ เช่น เราไม่สามารถนำน้ำหอมดิฟฟิวเซอร์มาใส่ลงเครื่องพ่นไอน้ำ
หรือเตาต้มอโรมาแทนน้ำมันหอมระเหยเอสเซนเชียลออยล์ได้ และน้ำมันหอมระเหยเอสเซนเชียลออยล์ก็ไม่สามารถใช้ร่วมกับก้านไม้หวายได้เช่นกัน เป็นต้นค่ะ อย่างไรแล้วเพื่อนๆ ลองเลือกประเภทของน้ำหอมปรับอากาศที่ชอบ ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ตัวเองและลองใช้อย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุดนะคะ